สถิติ
เปิดเมื่อ11/07/2011
อัพเดท23/11/2011
ผู้เข้าชม17205
แสดงหน้า19753

ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3940300454194
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




ผลงานที่ผ่านมา (เข้าชม 883 ครั้ง)

บทคัดย่อ

 
รายงานการวิจัย   ผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่44 จากสถานการณ์การก่อความไม่สงบในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  
ผู้วิจัย                                     
ชื่อปริญญา          ศิลปะศาสตร์บัณฑิต
วิชาเอก                รัฐประศาสน์ศาสตร์
ปีการศึกษา          2552
 
            การวิจัยเรื่อง“ผลกระทบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่44 จากสถานการณ์การก่อความไม่สงบ”  มีวัตถุประสงค์คือ1. เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่44  จากสถานการณ์การก่อความไม่สงบในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  2.เพื่อศึกษาผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่44 จากสถานการณ์การก่อความไม่สงบในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  3. เพื่อศึกษาการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่44 จากสถานการณ์การก่อความไม่สงบในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4.  เพื่อศึกษาวิธีการเสริมขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่44 จากสถานการณ์การก่อความไม่สงบในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้การศึกษาครั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ได้แก่ค่าร้อยละค่าความถี่ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
           ผลการศึกษาพบว่าผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่44 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (X=3.54 S.D. 1.087) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อจะพบประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด3 ข้อคือข้อที่20 ไม่เข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีของประชาชนมุสลิมในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่  ข้อที่17 การปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่ต้องสงสัยในพื้นที่ชายแดนใต้จะทำให้ท่านเสี่ยงต่อการปะทะกับผู้ก่อการร้ายและข้อ16 การลาดตระเวนทำในพื้นที่ชายแดนใต้ทำให้ท่านเสี่ยงต่อการดักซุ้มโจมตีของผู้ก่อการร้ายมากน้อยเพียงใดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.21 , 4.19 และ3.88 ตามลำดับ

**********************************

หัวข้อวิจัย            ความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองระดับอำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
ชื่อผู้วิจัย           
คณะ                       มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบัน                  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา


ปีการศึกษา           2552
 

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองระดับอำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา”       มีวัตถุประสงค์คือ 1.) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองระดับอำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 2.) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่ออำนาจ หน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองระดับอำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดยะลา  3.) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองระดับอำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่สุ่มแบบแบ่งกลุ่มได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง  300 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
     ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมทุกด้านพบว่า ความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองระดับอำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก  ( X = 84 และ S.D. = .88) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจะพบว่าด้านการให้บริการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3.91 รองลงมาคือด้านการพัฒนา มีค่าเฉลี่ย 3.84 และความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อ อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองระดับอำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างตอบถูกมากที่สุด คือ การแจ้งเกิดจะต้องแจ้งภายใน 15 วันนับแต่วันที่เกิด